บทความก่อน นำเสนอ ในเรื่องของการค้นหาโดเมนเนมที่เป็นภาษาไทยใน Godaddy และรวมถึงการชำระเงินในการซื้อ โดเมนเนมใน Godaddy มาเรียบร้อย ดิฉันเองถึงแม้จะจดโดเมนเนมมาหลายรอบ และตั้งค่าให้กับ blog หลายรอบครั้นจดใหม่ ก็ยังต้องงมอยู่นั้นหล่ะ เพราะจำไม่ได้ว่ากระบวนการขั้นตอนในการนำโดเมนเนมมาใช้งานร่วมกับ blog อย่างไรบ้าง วันนี้ขอร่วมแชร์พร้อมบันทึกไว้เปิดอ่านไปพร้อมกันเลยค่ะ
ภาพที่ 1 สถานะแจ้งหลังการจดโดเมนเนมผ่าน Godaddy
1. หลังจากชำระเงินซื้อโดเมนเนมกับ Godaddy ไปเรียบร้อยแล้ว จะปรากฏสถานะขอบคุณ เพื่อตั้งค่าให้กับโดเมนเนมให้คลิ๊กที่ My account ตามภาพที่ 1 ค่ะ
ภาพที่ 2 เมนุ control panel ใน godaddy
2 ที่หน้าต่าง Control panel ของ Godaddy จะปรากฏรายชื่อโดเมนเนมที่เราจดผ่าน Godaddy ให้ติีกเครื่องหมายถูกที่หน้า โดเมนเนมที่เราจะนำไปใช้งานร่วมกับเวบบล็อกของเรา
ภาพที่ 3 เรียกใช้งาน Dns manager จากเมนู Tools
3. หลังจากนั้นคลิ๊กที่เมนู Tools> Dns manager ปล่อยให้บราวเซอร์เปิดหน้านี้ทิ้งไว้ก่อนนะคะ ให้เรามาที่เวบ blogger ก่อนค่ะ
ภาพที่ 4 การตั้งค่าโดเมนเนมให้กับ blogger ที่เมนู การตั้งค่า
4. เปิดบราวเซอร์แท็บใหม่เป็น Login เข้า blogger ที่หน้าแดชบอร์ดคลิ๊กมาที่เวบบล็อกที่ต้องการตั้งค่าโดเมนเนมให้ชี้ไปยัง โดเมนที่ซื้อจาก Godaddy แล้วคลิ๊กที่ เมนู Setting (ตั้งค่า ) > Basic ( พื้นฐาน ) ที่เมนู Publishing ให้คลิ๊กที่ Add a custom domain
ภาพที่ 5 ตั้งค่า Blog address ให้กับ blogger
5 คลิ๊กที่ switch to advanced settings ตามภาพที่ 5 เลยค่ะ
. ภาพที่ 6 เพิ่มโดเมนจาก godaddy .ใน blog address
6. ที่ Advance settings ให้เติม โดเมนเนมที่จดกับ Godaddy ลงไปในกรอบสี่เหลี่ยมดังรูป ต่อจากนั้นคลิีก Enter จะปรากฏแจ้ง ข้อความ error แล้วมี คำแนะนำ ให้ Copy ค่าในกรอบสีแดงสองบรรทัดในรูปที่ 1 ไปเติมลงใน Dns manager ที่เวบ Godaddy
ภาพที่ 8 หน้าต่างเรียนใช้งาน Edit zone
7. กลับมาที่หน้าต่าง Dns manager ที่เวบ Godaddy อีกครั้ง ให้ติีกเครื่องหมายถูกที่ชื่อโดเมนที่ต้องการให้ blogger ชี้มา แล้วคลิ๊กที่ Edit zone
ภาพที่ 9 เพิ่มโค้ดจาก blogger ใน zone editor
8 ต่อจากนั้นในหน้าต่าง Zone File editor มองหาเมนู CNAME Alias ให้คลิ๊ก Quick add เพื่อเติมโค้ด สองโค้ดที่ copy มาจาก blogger ใส่ลงไป ดังรูป หลังจากเพิ่ม code ดังกล่าวเสร็จแล้ว คลิ๊ก Save zone File ต่อจากนั้น จะมีหน้าต่างแจ้งการอัพเดทสถานะ ให้คลิีก ok จนจบ
ภาพที่ 10 หน้าต่าง ตั้งค่า blog address
9.กลับมาที่หน้าต่างการตั้งค่าใน blogger หลังจากเติมโค้ดใน dns manager ใน godaddy เรียบร้อยให้กลับมาบันทึกผล ใน blogger
ภาพที่ 10 สถานะของ blog address หลังการชี้โดเมนเนมไปยังโดเมนที่จดกับ godaddy
10 หากไม่มีอะไรผิดพลาด ชื่อ blog address ของเราจะเป็นชื่อโดเมนเนมที่จดกับ Godaddy เรียบร้อยค่ะ
อาจจะดูขั้นตอนยาวไปนิด แต่ลองทำดูก็ไม่ยากค่ะ
0 comments:
โพสต์ความคิดเห็น